CORAL LIFE ได้กำหนดมาตรฐานใหม่ด้านการก่อสร้างในเอเชีย โดยการทำให้เห็นเป็นตัวอย่างจริง ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่เราเชื่อว่าจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายอย่างแท้จริง เราเริ่มจากการสร้าง House X เพื่อการทำการวิจัยและพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของระบบ เครื่องจักร และวัสดุก่อสร้างที่เราเลือกสรรมาใช้จากพันธมิตรต่างๆ เราได้แนะนำผลลัพธ์ของเราให้แก่ผู้ที่มีแนวความคิดเดียวกันซึ่งเรารู้ว่ามีความสนใจเหมือนเรา ซึ่งส่งผลให้เกิดโครงการที่เลือกใช้นวัตกรรมของเราขึ้น 4 โครงการอย่างรวดเร็ว
โครงการอาคารสำนักงานในโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 7 ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นั้น เราได้รับเลือกโดย บริษัท China Petroleum Pipeline ซึ่งเป็นบริษัทที่ ปตท.คัดเลือกและว่าจ้างให้เป็นผู้รับเหมาหลักของโครงการ Coral Life ดำเนินการออกแบบร่วมกับ A49 ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทด้านสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย โดยคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
จากปัจจัยที่กำหนด เราจึงได้ออกแบบพื้นที่ทำงานรูปแบบใหม่ภายใต้แนวคิด “ทำงานได้ทุกที่” ที่มีแสงสว่างและเขียวขจี แทนที่จะเป็นพื้นที่สำนักงานรูปแบบเดิม
เพื่อสนับสนุนการทำงานของโซลูชั่นของเราและเพื่อลดการแยกกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เราได้สร้างพื้นที่สีเขียวไว้ตรงกลางอาคารและรอบๆอาคารเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นโดยจัดให้มีร่มเงามากขึ้นและหลีกเลี่ยงแสงแดดส่องถึงมากเกินไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิภายในอาคารที่ระดับ 28 องศาเซลเซียสโดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า พร้อมทั้งระบายคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศในอาคารออกและเติมออกซิเจนจากภายนอกเข้ามาผ่านการกรองฝุ่นและเชื้อโรคในระดับ 0.3 ไมครอน
The results of this project are a clean and cool space in a heavy industrial complex, all while keeping the energy expenses low and the staff’s health and morale high.
”เศรษฐกิจสีเขียว” การสร้างพื้นที่ๆสะอาดและเย็นสบายในนิคมอุตสาหกรรมที่ร้อนและแห้งแล้งไปพร้อมๆกับการลดค่าใช้จ่ายของพลังงานแต่เพิ่มคุณภาพอากาศที่ดีให้กับพนักงานเพื่อสุขภาพ ประสิทธิภาพ และกำลังใจในการทำงานการออกแบบของ Coral-Life จะช่วยลดการติดตั้ง BTU ลงประมาณ 84% เมื่อเทียบกับอาคารขนาดนี้โดยทั่วไป ตามมาตรฐานปัจจุบัน อาคารขนาดนี้โดยทั่วไปจะต้องใช้ 3,109,600 BTU โดยที่โซลูชั่นของเราใช้เพียงแค่ 506,000 BTU ในแง่ของการใช้พลังงาน ระบบของเราจะใช้พลังงานน้อยกว่าระบบทั่วไปประมาณ 75% หรือเพียงแค่ปีละ 379,008 กิโลวัตต์-ชั่วโมง เมื่อเทียบกับระบบทั่วไปปีละ 1,497,397 กิโลวัตต์-ชั่วโมง หากคำนวณเป็นตัวเลขทางการเงินจะแปลว่าประหยัดได้ถึงปีละ 4.7 ล้านบาท และในแง่ของคาร์บอนเครดิตก็จะสะสมได้ปีละ 525.6 ตัน ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายในประเทศ ส่วนทวีปยุโรปที่มีการกำหนดราคาซื้อขายที่ชัดเจนแล้วนั้น ก็จะมีมูลค่าปีละ 1.5 ล้านบาท